รีวิวรถยนต์ใหม่
โดย.เตมีย์ ลิ้มตระกูล
กรุงเทพฯ 28 มกราคม 2563
รถยนต์ฮอนด้า ซิตี้ ผ่านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จอย่างมากในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกซึ่งประเทศไทยเองถือเป็นตลาดหลักของฮอนด้า ซิตี้ ด้วยเพราะออนด้า ซิตี้ มียอดขายในประเทศไทยสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเหตุผลนี้เองที่ทำให้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้เปิดตัวฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่ 5 ฮอนด้า ซิตี้ ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศไทยตลอด 4 เจเนอเรชัน ที่ผ่านมา ส่วน ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่5 เจเนอเรชัน ที่มีเทอร์โบ นี้จะเป็นอย่างไร?จะค่อยๆเล่าให้ฟังทีละขั้นละตอนไปรวมทั้งรีวิวรายงานการทดลองขับทดสอบสมรรถนะให้ได้ทราบใน ช่วงท้าย
*เดอะ ลีเจนด์ ออฟ ฮอนด้า ซิตี้
สำหรับช่วงแรก นี้ขอพาขึ้นไทม์แมทชีนย้อยเวลาไปทำความรู้จักกับ ลีเจนด์ ออฟ ฮอนด้า ซิตี้ กันก่อน ฮอนด้า ซิตี้ เปิดตัวพร้อมจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 1996 แต่สำหรับในตลาดบ้านเกิดที่ญี่ปุ่นนั้น ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่ 1 ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1981 ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นปี 1996 ที่บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด นับเป็น เจเนอเรชันที่1นั้น คือ ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 3 หรือ เจเนอเรชันที่ 3 ในตลาดบ้านเกิด
ในครั้งนั้น ฮอนด้า ซิตี้ เข้ามาสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่ากว่าที่เคยมีมาในอดีตก่อนหน้านั้น ส่งผลให้สามารถขยายฐานลูกค้าผู้ใช้รถยนต์ให้กว้างขึ้นกว่าเดิมและนับตั้งแต่นั้นมา ฮอนด้าซิตี้ ในแต่ละเจเนอเรชั่นได้ถูกพัฒนาขึ้น ตามลำดับ ทั้งในด้านรูปลักษณ์การออกแบบ สมรรถนะการขับขี่ เทคโนโลยีความปลอดภัย
รวมถึงฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกต่างๆทำให้ฮอนด้าซิตี้ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้อย่างเข้าใจ สามารถครองใจผู้บริโภคมาอย่างเหนียวแน่น จนสามารถครองตำแหน่งผู้นำ ซัปคอมแพค(Subcompact Segment) ซึ่งเห็นได้ชัดว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ฮอนด้า ซิตี้ เป็นรุ่นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในระดับรถซิตี้คาร์ให้กับ ฮอนด้าด้วยการสร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของรถในกลุ่มนี้และเมื่อลูกค้ามองหารถ ซิตี้คาร์ ฮอนด้า ซิตี้ จะเป็นตัวเลือกต้นๆในใจของลูกค้าอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ฮอนด้า ซิตี้ ยังเป็นโมเดลหลักที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้กับฮอนด้า ทั้งในด้านยอดขาย และการสร้างฐานข้อมูลลูกค้า ด้วยการเป็นรถยนต์ฮอนด้า รุ่นเริ่มต้น สำหรับลูกค้าที่มองหารถยนต์ คันแรกของครอบครัว และเมื่อได้มีโอกาสได้ใช้งาน ฮอนด้า ซิตี้ แล้วลูกค้าต่างมีความประทับใจทั้งในตัวผลิตภัณฑ์และการบริการจากฮอนด้า ดังนั้นเมื่อจะซื้อรถยนต์ถัดไปลูกค้าจึงมักจะมองหารถยนต์ฮอนด้ารุ่นอื่นๆต่อไป จากความสำเร็จและความสำคัญจาก ฮอนด้า ซิตี้ ส่งผลให้การพัฒนา ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันที่5 นี้เป็นโจทย์ที่ยากและถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ
แต่ด้วยความทุ่มเทของทีมวิศวกรผู้พัฒนา ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันใหม่นี้ ไม่เพียงแต่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าทุกเจเนอเรชันที่ผ่านมาแต่ยังดีขึ้นในทุกมิติทั้งสมรรถนะการขับขี่ ดีไซน์พร้อมทั้งความหรูหราและสปอร์ตอีกทั้งตัวรถยังใหญ่ขึ้น และคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคในด้านการใช้งานมากขึ้น ด้วยอัตราการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และเทคโนโลยีอุปกรณ์การใช้งาน และด้วยความสำเร็จของ ฮอนด้า ซิตี้ ทั้ง 4 เจเนอเรชัน ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันที่5 นี้ จึงไม่ใช่แค่เข้ามาสร้างมาตรฐานใหม่แต่จะมาสร้างปรากฎการครั้งใหม่ให้เกิดขึ้นกับวงการซิตี้คาร์ในประเทศไทย เช่นเดียวกับ ฮอนด้า ซิตี้ ตั้งแต่เจเนอเรชันที่1 เคยทำไว้
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 1 รุ่นปีผลิต 1981 – 1986
ฮอนด้า ซิตี้ ถูกผลิตขึ้นตอบโจทย์ของชื่อรุ่นคือรถยนต์ของคนเมือง จุดเด่นของฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 1 เป็นรถยนต์นั่งตัวถังขนาดเล็กแต่สามารถออกแบบให้ภายในห้องโดยสารมีความกว้างขวางได้อย่างไม่น่าเชื่อ? ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อด้วยเพราะ ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 1 ที่มีรูปทรงตัวถังแบบ แฮทช์แบ็ก 3 ประตู แต่เป็น แฮทช์แบ็ก 3 ประตู ทรงการ์ตูน คือรูปทรงตัวเล็กๆป้อมๆแต่หลังคาสูง ด้วยทรงแบบนี้นี่เองจึงทำให้ ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 1 แฮทช์แบ็ก 3 ประตู มีความกว้างเกินตัว ก่อนที่รุ่นถัดมาจะมีการเพิ่มรุ่นตัวถังแบบเปิดประทุน คอนเวอร์ทิเบิล 2 ประตู ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 1 ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.2 ลิตร จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่ายคาร์บูเรเตอร์ มีทั้งเกียร์ ธรรมดา 4 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีดให้เลือก (รุ่นนี้ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 2 รุ่นปีผลิต 1986 – 1993
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 2 เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจาก เจเนอเรชัน 1 โดยรูปทรงตัวถังยังคงเป็นแบบ แฮทช์แบ็ก 3 ประตู เครื่องยนต์ยังคงเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 1.2 จ่ายน้ำมันด้วยคาร์บูเรเตอร์ ก่อนจะพัฒนาเครื่องยนต์เป็น 1.3 ลิตร พร้อมทั้งเปลี่ยนระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหัวฉีด
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 3 รุ่นปีผลิต 1996 – 2002 (นับเป็น ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 1 สำหรับในประเทศไทย)
ปี 1996 ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 1 เปิดตัวในประเทศไทยเป็นครั้งแรก สร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยด้วยราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่ายเกิดการขยายฐานผู้บริโภคที่สามารถซื้อรถยนต์ให้กว้างออกไป นับเป็นการสร้างตลาดรถยนต์ “ซัปคอมแพค”ขึ้นในไทยเป็นครั้งแรก
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 4 รุ่นปีผลิต 2002 – 2008 (นับเป็น ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 2 สำหรับในประเทศไทย)
ปี 2002 มีการขยายแพลตฟอร์มให้กว้างยิ่งขึ้นสะดวกสบายตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนที่หลากหลายทำให้ภาพลักษณ์ของ ซิตี้ คาร์ ในสายตาผู้บริโภคเปลี่ยนไปรวมถึงการนำระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT 7 สปีดมาใช้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังสร้างความเชื่อมั่นด้วยโกลโบล ฮอนด้า ควอลิตี้ สแตนดาร์ด (Global Honda Quality Standard) โดยการส่งออกไปจำหน่ายในหลายประเทศรวมทั้งประเทศญี่ปุ่น
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 5 รุ่นปีผลิต 2008 – 2014 (นับเป็น ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 3 สำหรับในประเทศไทย)
ในเจเนอเรชันที่ 3 ด้วยการออกแบบดีไซน์ที่โดดเด่นและเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะดีเยี่ยมทำให้ฮอนด้าซิตี้ในเจเนอเรชั่นนี้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคชาวไทยและต่างประเทศทั่วโลกถือเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ประสบความสำเร็จที่สุดด้วยการสร้างยอดขายมากกว่า1ล้าน 5แสนคัน ในกว่า40ประเทศทั่วโลกฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันนี้ เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2008 โดยจะมี 3 รุ่น 3 หลัก 5 รุ่นย่อยให้เลือก
-S MT 524,000 บาท
-S AT 564,000 บาท
-V AT ABS 619,000 บาท
-V AT (AS) 644,000 บาท
-SV AT (AS) 694,000 บาท
ก่อนจะไมเนอร์เชนจ์ ในปี2011 พร้อมปรับราคาขึ้น ทั้งยังเพิ่มรุ่นเครื่องยนต์ที่สารมารถรองรับแก๊ส CNG เพิ่มอีก2รุ่น ในปี 2012
-S MT 559,000 บาท
-S AT 599,000 บาท
-V AT 646,000 บาท
-SV AT 704,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ CNG
-S CNG AT 659,000 บาท
-V CNG AT 706,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 6 รุ่นปีผลิต 2014 – 2018 (นับเป็น ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 4 สำหรับในประเทศไทย)
และในปี 2014 ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 4 ได้รับการพัฒนาขึ้นไป อีกขั้นจนเป็นรถที่ได้รับความนิยมอย่างมากตอกย้ำความสำเร็จด้วยการเป็นรถ“ซัปคอมแพค”ยอดขายอันดับ1ในไทย ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันนี้เปิดตัว (รอบสื่อมวลชน) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2014 มี 5 รุ่นหลักให้เลือกโดยทุกรุ่นรองรับน้ำมันเชื้อเพลง E85 ในทุกรุ่นย่อย พร้อมกับระบบ Econ Assist ที่ช่วยให้การขับขี่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น
พร้อมทั้งยังมีโครงสร้างนิรภัย G-CON ระบบควบคุมการทรงตัว VSA ระบบช่วยออกตัวในทางชัน HSA (ยกเว้นรุ่นเกียร์ธรรมดา) และไฟเตือนการเบรกกระทันหัน ESS เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมาตรฐานในทุกรุ่นย่อยและตั้งแต่รุ่นV+ขึ้นไปจะมีเสาครีบฉลาม (Shark Fin) และหน้าจอระบบสัมผัส สำหรับเกียร์อัตโนมัติทุกรุ่นจะได้ระบบเกียร์อัตโนมัติ CVT 7 สปีด แบ่งสีที่จำหน่ายเป็นดังนี้
1.สีน้ำเงิน (เฉพาะรุ่น SV/SV+) 2.สีแดง 3.สีน้ำตาล 4.สีดำ 5.สีขาว 6.สีเงิน 7.สีเทา
ราคาที่จำหน่ายและออฟชั่นของแต่ละรุ่นดังนี้
-รุ่น S MT ราคา 550,000 บาท เกียร์ธรรมดา 6 สปีด
-รุ่น S AT ราคา 589,000 บาท ระบบเชื่อมต่อโทรศัพท์ไร้สาย Bluetooth กระจกแต่งหน้าด้านคนขับ ราวมือจับ 1 ตำแหน่ง ล้อกระทะขนาด 15 นิ้วลายใหม่
-รุ่น V ราคา 649,000 บาท กระจกแต่งหน้าด้านคนขับและผู้โดยสาร มือจับประตูสีเดียวกับตัวรถ จอแสดงข้อมูลการขับขี่ MID ราวมือจับ 3 ตำแหน่ง ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้วลายใหม่
-รุ่น V+ ราคา 689,000 บาท ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ หน้าจอสัมผัส เสาครีบฉลาม กล้องส่องภาพด้านหลัง
-รุ่น SV ราคา 736,000 บาท ไฟอ่านแผนที่ด้านหน้า และคันเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัย (Paddle Shift) ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้วลายใหม่
-รุ่น SV+ ราคา 751,000 บาท ถุงลมพร้อมม่านถุงลมด้านข้าง
*ความสำเร็จไม่ใช่เป้าหมาย แต่คือความท้าทายครั้งต่อไป
ฮอนด้า ซิตี้ ทุกเจเนอเรชันในประเทศไทยนั้นมียอดขายโชติช่วงเป็นอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์ซัปคอมแพคมาโดยตลอด จะมาแผ่วลงไปในช่วงปลายของ ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน 4( ช่วงปี 2017) ซึ่งเป็นผลจากการมาของมาสด้า2 รุ่นปี 2017 (เริ่มฉายแววและสู้กับฮอนด้าซิตี้อย่างดุเดือดตั้งแต่รุ่นปี2015) ก่อน ฮอนด้า ซิตี้ จะเสียแชมป์อันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์ซัปคอมแพคให้มาสด้า2 ในปี 2018-2019
ความท้าทายครั้งนี้ของฮอนด้าซิตี้ คือการทวงแชมป์คืนให้ได้ในเร็ววัน ซึ่งมีแววเป็นไปได้ว่า ฮอนด้า ซิตี้ จะสำเร็จเพราะหลังเปิดตัว ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่ 5 เจเนอเรชัน ที่มีเทอร์โบ ไปเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ก่อนพร้อมจำหน่ายในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 36 ตั้งแต่ วันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2562 พร้อมๆกันที่โชว์รูมฮอนด้าทั่วประเทศ นอกจากความสดใหม่ในตัวเองแล้ว
ฮอนด้า ซิตี้ยังจัดแคมเปญสำหรับลูกค้าที่จองตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 – 31 ธันวาคม 2562 และรับรถภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 รับฟรีนาฬิกา Fitbit Smart Tracker รุ่น Charge 3 สี Graphite/Black มูลค่า 6,490 บาท เป็นของกำนัล ซึ่งได้ผลนับจากวันนั้นถึงวันนี้ ( วันที่เขียนริวิว 28 มกราคม 2020) ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่ 5 มียอดขายไปแล้วกว่า 8 พันคัน รุ่น SV เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดคิดเป็น45% รองลงมาเป็นรุ่นท๊อป RS 35% ที่เหลือ 20% เป็นรุ่น V และ S
และนี่คือเหตุผลการมาของ ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่5 เจเนอเรชันที่ใช้เครื่องยนต์ดาว์นไซส์ซิ่งอิงเทอร์โบ เครื่องยนต์ 1.0 ลิตร DOHC VTEC TURBO 3 สูบ 12 วาล์ว พ่วง Turbo Charger อัดอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้เร็วขึ้นในฝั่งไอดี ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยวิธีฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ได้เร็วจุดระเบิดได้แรง
ผ่านกลไกแคมชาฟท์ Dual VTC ปรับ ลด-เพิ่ม ลดองศาระยะยกเปิดปิดวาล์วทั้งไอดี-ไอเสียแปรผัน VTEC ให้สัมพันธ์กับความต้องการของเครื่องยนต์ที่ส่งสัญญานมาจากองศาการเดินคันเร่ง ให้กำลังสูงสุด 122 แรงม้า ที่ 5,500 รอบต่อนาที แรงบิดเร้าใจ 173 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 – 4,500 รอบต่อนาที เพื่อลงไปเล่นในตลาด อีโคคาร์เฟส2 ที่มีเงื่อนไขรายละเอียดว่าต้องมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันไม่น้อยกว่า 23.25 กิโลเมตร/ลิตร ปล่อยปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 กิโลกรัม/เมตร
ลดอุณหภูมิความร้อนอากาศที่มาจากการ “บูสท์” ของเทอร์โบ ให้เย็นลงด้วยระบบระบายความร้อนอินเตอร์คูลเลอร์แบบน้ำอีกทั้งยังที เวสเกตไฟฟ้า (แม่นยำกว่า”เวสเกต”แบบแวคคั่ม) ติดตั้งมาให้เพื่อป้องกัน”บูสท์ไหล”ที่เกิดจากแรงดันอากาศฝั่งไอเสียมากเกินกำหนด “เวสเกต” จะทำหน้าที่ บายพลาสแรงดันไอเสียส่วนเกินนั้นออก ถามว่าทำไมต้องบายพาสแรงดันไอเสียส่วนเกินออกเหตุเพราะแรงดันฝังไอเสียมีผลโดยตรงกับแรงดันฝั่งไอดีเนื่องจากอยู่บนแกนหมุนเดียวกัน
หากแรงดันฝั่งไอเสียมีมากแรงดันอากาศฝั่งไอดีที่ส่งเข้าห้องเผาไหม้ก็จะมีปริมาณที่เท่ากันทีนี้หากไม่มีการปรับตั้งให้อากาศฝั่งไอเสียมีปริมาณพอเหมาะมันจะส่งผลโดยตรงกับแรงดันอากาศฝั่งไอดี เพราะถ้าแรงดันมากเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์เกิดการจุดระเบิดเผาไหม้ผิดปกติส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหายได้รวมถึงมีระบบหล่อลื้นแกนเทอร์โบจึงไม่จำเป็นต้องใช้เทอร์โบไทม์เมอร์ตั้งเวลารอให้แกนเทอร์โบเย็นลงก่อนค่อยดับเครื่อง!!!
นอกจากเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร DOHC VTEC TURBO 3 สูบ 12 วาล์ว พ่วง Turbo Charger ที่เป็นจุดขายหลักของ ในฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่ 5 แล้วเรื่องของระบบความปลอดภัยมีมาให้ไม่ได้พร่องลงไปจากเมื่อครั้งยังเป็น ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่ 4 ซึ่งแน่นอนว่าเข้าข่ายได้ป้าย“อีโค คาร์ เฟส2” สบาย ไม่ว่าจะเป็น
-โครงสร้างนิรภัย G-Force Control หรือ G-CON
-ถุงลมนิรภัย 4 ตำแหน่ง( เพิ่มม่านถุงลมด้านข้างเป็น 6 ตำแหน่งในรุ่น RS)
-กล้องมองภาพด้านหลังปรับมุมมอง 3 ระดับ เลือกดูมุมกล้องได้ทั้ง 130 องศา และ 180 องศา และมุมมองด้านบนจะแสดงเมื่อเกียร์ถูกเปลี่ยนมาที่ตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง (เฉพาะรุ่น SVและRS)
-ระบบเบรก ABS
-ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้งป้องกันการลื้นไถล Vehicle Stability Assist หรือ VSA
-ระบบช่วยการออกตัวเมื่ออยู่บนทางลาดชัน Hill Start Assist หรือ HSA
-สัญญานไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกระทันหัน Emergency Stop Signal หรือ ESS
รวมถึงฟังก์ชั่นและเทคโนโลยีเชื่อมต่อ Honda CONNECT ที่ช่วยให้ทุกไลฟ์สไตล์ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น (เฉพาะ รุ่น RS)
-MY SERVICE แจ้งเตือนและตรวจสอบประวัติรวมถึงประเมินค่าใช้จ่ายในการเข้าเซอร์วิสได้เบื่อต้น
-DRIVE BEHAVIOR ระบบบันทึกข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ สามารถแสดงผลราย วัน-เดือน- หรือรายปีได้
-WIFI เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายจากรถยนต์ใช้งานพร้อมกันได้5อุปกรณ์ (ฟรี 1 ปีแรก ปีถัดไปประมาณ 1,600 บาทต่อเดือน )
-AIRBAG DEPLOYMENT เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วถุงลมทำงาน Honda CONNECT จะส่งสัญญานผู้ใช้งานผ่านแอพฯ ทันทีพร้อมส่งข้อความสั่นไปยังเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน รวมถึงการส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
-SECURITY ALARM แจ้งความผิดปกติกับรถยนต์
-REMOTE VEHICLE CONTROL สามารถสั่งสตาร์ทหรือดับเครื่องยนต์ เปิดแอร์ตั้งอุณหภูมิ หรือแม้ กระทั้งสั่งล็อกและปลดล็อกประตูทั้ง 4 บาน รวมถึงฝากระโปรงหน้าและท้าย หรือแม้กระทั้งสั่งเปิด-ปิดไฟหน้าไฟท้ายได้ การสั่งการเหล่านี้ผู้ใช้ต้องใส่รหัส 4 หลัก (PIN) ที่ตั้งไว้ทุกครั้งก่อนใช้งาน
-GEO FENCE& SPEED ALERT กำหนดขอบเขตการขับขี่รถยนต์เข้าและออกตามพื้นที่ที่กำหนด
-FIND MY CAR สามารถตรวจสอบพิกัดตำแหน่งรถได้ผ่านแอปพลิเคชั่น
ภายนอกเด่นใหญมาตรฐานซัปคอมแพค
ดีไซน์ภายนอกฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันที่ 5 เน้นความเรียบง่ายแต่ดูงามสง่า จากความคมของเส้นสายด้านข้างไฟหน้าแบบโปรเจคเตอร์พร้อมLED สำหรับการขับขี่ในเวลากลางวันแบบไฟท้ายแบบ LED กระจังหน้าแบบโครเมียม เสาอากาศแบบครีบฉลาม และล้ออัลลอยดีไซน์ใหม่ขนาด 15 นิ้ว
สำหรับรุ่น RS ขนาด16 นิ้ว ทั้งยังเปลี่ยนมุมมองรถพิกัดซัปคอมแพคให้ดูสปอร์ตมากกว่าเคย ด้วยชุดแต่งรอบคัน กระจังหน้า Gloss Black ฝั่งตรงกลางกันชนหน้า ไฟหน้าดีไซน์ใหม่คล้ายการเรียงตัวของเปลือกหอย
พร้อมไฟส่องสว่างสำหรับการขับขี่ในเวลากลางวันแบบ LED ไฟตัดหมอกแบบ LED กระจกมองข้างสีดำพร้อมไฟเลี้ยวในตัว สปอยเลอร์หลังแบบ Gloss Black พร้อมสัญลักษณ์ RS
*ล้ออัลลอยดีไซน์สปอร์ตขนาด 15 นิ้ว สำหรับรุ่น SV
ห้องโดยสารไม่เล็กครับ
ภายในห้องโดยสาร มาตรฐานฮอนด้าที่ออกไปทางเรียบหรูไม่หวือหว่าคอนโซลหน้า Piano Black แนวขนานทรงเหลี่ยมลบมุม ฝังช่องแอร์ขนาดใหญ่ 4 ช่อง ระหว่างช่องแอร์คู่ในเป็นตำแหน่งเครื่องเสียง 2 DIN มีจอแสดงผลขนาด 8 นิ้ว แบบ Advanced Touch รองรับ Apple CarPlay และมี “SIRI” อัพเกรดให้สปอร์ตยิ่งขึ้นด้วยเบาะหนังกลับสลับทูโทนเดินตะเข็บเย็บด้วยด้ายสีแดงพร้อมหน้าจอแสดงข้อมูลการขับขี่ ที่มาตรวัดเรืองแสง สีแดง
ดึงดูดทุกสายตาด้วยสีภายนอกใหม่ สีแดงอิกไนต์ (Ignite Red) เฉพาะรุ่น RS หรูหรายิ่งขึ้นเบาะหนังและภายในสีทูโทน ไอเวอรี่/ดำ (เฉพาะรุ่น SV) ระบบสตาร์เครื่องยนต์เป็นพุชสตาร์ท ล็อก เปิดล็อกประตูผ่านกุญแจรีโมท ฝังจุดเชื่อมต่อ
USB2 ชุดที่ด้านล้างชุดควบคุมระบบปรับอากาศ (เฉพาะรุ่น SV-RS) ข้างกันเป็นชุดจ่ายไปสำรอง และมีหลังคอนโซลกลางอีก2ชุด ( เฉพาะรุ่นRS ) พวงมาลัย มัลติฟังก์ชันฝังชุดควบคุมระบบเครื่องเสียง รับ-วางสายโทรศัพท์ ระบบปรับอากาศ
ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ มีให้เลือกทั้งหมด 4 รุ่น ได้แก่
-รุ่น S ราคา 579,500 บาท
-รุ่น V ราคา 609,000 บาท
-รุ่น SV ราคา 665,000 บาท
-รุ่น RS ราคา 739,000 บาท
ก็ไม่รู้จะแรงแค่ไหนถ้ายังไม่ได้ทดลองขับ
จากการคำนวนด้วยการจับยามสามตาผ่านอากู๋ กูเกิ้ล ทำให้ได้ทราบว่าเครื่องยนต์ดาว์นไซส์ซิ่งอิงเทอร์โบ เบนซิน 1.0 ลิตร DOHC VTEC TURBO 3 สูบ 12 วาล์ว พ่วง เทอร์โบชาร์จ ลูกนี้ที่ฝั่งยุโรปเค้ามีปรับจับไปวางใต้ฝากระโปรงรุ่นพี่ ซีเซ็กเม้นต์อย่างฮอนด้า ซีวิค โดยทางโน้นไม่ได้มี โครงการ อีโค คาร์ ให้จูงใจได้ลดภาษี แต่ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมนั้นมันอยู่ในใจคนใช้รถแบบเข้าเส้นเน้นยอมรับสนับสนุนรถยนต์ที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมยอมให้ผู้บริโภคเป็นใหญ่
กลับมาที่บ้านเรา ฮอนด้า ซิตี้ โฉมใหม่ ในเจเนอเรชัน ที่5 หลังจากเปิดตัวพร้อมจำหน่ายกวาดตัวเลขไปกว่า 8พันคัน ในระยะเวลา 2 เดือน ส่งสัญญานเตือนให้มาสด้า2 ที่ครองแชมป์ยอดขายอยู่นั้นต้องทำอะไรสักอย่าง ไม่เช่นนั้นคาดว่า ฮอนด้า ซิตี้ โฉมใหม่ น่าจะกลับมานั่งตำแหน่งแชมป์ได้ในปลายปี ส่วนคู่แข่ง อีโค คาร์ ในคราบ บีคาร์ นิสสัน อัลเมร่า ที่เปิดตัวแบบจุดพลุเสียงดังไปก่อน กลับไม่มีการ กระตุ้นอะไรเพิ่มเติม ผิดกับ ฮอนด้า ซิตี้ ที่โหมกระหน่ำทำตลาดอัดสปอร์ตโฆษณาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเชิญเรา incarsmagazine.com เข้าร่วมกิจกรรมทดลองขับทดสอบสมรรถนะ ฮอนด้า ซิตี้ โฉมใหม่ ในเจเนอเรชัน ที่ 5 กันที่จังหวัดเชียงราย
ใกล้ 200 กม./ชม. ด้วย 122 แรงม้า 1.0 ลิตรพลังกังหันปั่นไอเสีย
การทดลองขับทดสอบสมรรถนะ ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่ 5 ใช้ทางหลวงเส้นใหม่เพิ่งเปิดใช้งานได้ไม่นานเป็นเส้นทางจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายไปอำเภอเชียงของ ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 200 กิโลเมตรสภาพเส้นทางเป็นถนน 4 เลนพึ่งสร้างเสร็จ สภาพพื้นผิวถนนเหมาะมากกับการใช้ทดลองขับจับอัตราเร่งเบ่งพลัง ตลอดจนการวัดอัตราการบริโภคน้ำมันเชื่อเพลิง รวมถึงบางช่วงบางตอนของเส้นทางเป็นเส้นทางไต่ ขึ้น-ลง เขาให้ได้ลองแรงบิดพิชิตเนินชันกันได้บ้าง
อากับกริยาของฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชัน ที่5 เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ 1.0 ลิตร 122 แรงม้า แรงบิด 173 นิวตัน-เมตร นั้น ในส่วนของแรงม้า ที่จะมาครบในรอบเครื่องยนต์ที่ค่อนข้างสูงที่ 5,500 รอบ/นาทีดูตัวเลขแล้วอาจจะมองว่ามาช้ากว่าจะมาครบ แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อแรงม้ามาพร้อมกับแรงบิด173 นิวตัน-เมตร ที่มีให้ใช้ตั้งแต่ 2,000-4,500 รอบ/นาที
นั้นมันลงตัวอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. แบบคราวๆได้ตัวเลขอยู่ประมาณ10 กว่าวินาทีนิดๆตัวเลขอัตราเร่งอาจดูไม่หวือหวาแต่ความเร็วปลายสูงสุดมีพวกเรา (สื่อมวลชน) บางท่านทำได้ทะลุ 200กม./ชม. (ทำไปได้???) ซึ่งผมทำไม่ได้ครับผมกลัว!!! การทำความเร็วขนาดนั้นในช่วงที่ลองขับผมสังเกตุมีบางช่วงเป็นทางตรงยาวๆอีก ทั้งมีช่วงลงสะพานหากเร่งส่งลงเท้ามิดเครื่องยนต์ส่งพลังผ่านเกียร์CVT ไปได้แน่นอนซึ่งอันนี้คือข้อดีของเกียร์ CVT
สำหรับส่ิงที่น่าสนใจและเรียกคะแนนจากผมได้เต็ม10 คือการตอบสนองของเครื่องยนต์ในส่วนของแรงบิดในย่าน 2,000-4,500รอบ/นาที ตามสเป็คนับเป็นช่วงเรียกใช้งานได้ตั้งแต่ออกตัวจากจุดหยุดนิ่งไปจนวิ่งด้วยความเร็วเดินทาง 120-140กม./ชม. ในบางจังหวะเมื่อความเร็วเดินทางคงที่ที่140กม./ชม. แบบแช่นิ่งๆบนหน้าปัดจะโชว์สัญลักษณ์ใบไม้สีเขียวนั่นแปลว่าขณะนั้นเครื่องยนต์ใช้น้ำมันได้คุ้มค่าเข่าข่ายได้อัตราการสิ้นเปลืองที่ดี
ทั้งยังสามารถเติมคันเร่งเพิ่มความเร็วได้เรียบเนียนต่อเนื่องไร้อาการรอรอบที่เป็นจุดอ่อนของเครื่องยนต์ที่ใช้เทอร์โบ (ตรงนี้อาจเป็นข้อดีของความแม่นยำในการตรวจจับจัดการแรงดันฝั่งไอเสียของเวสเตไฟฟ้าตัวนั้นก็เป็นได้) อาจไม่ถึงกับหลังติดเบาะอย่างรุ่นพี่ซีวิคแต่ก็ติดท้าวเอาเรื่อง
อีกอย่างที่ต้องชมคือการเก็บเสียงภายในห้องโดยสารทำได้ดีกว่า ซิตี้รุ่นก่อนมาก (รุ่นนี้มีการฉีดโฟมเก็บเสียงบริเวณพื้นเสารอยต่อของโครงสร้างตัวถัง รวมถึงเพิ่มวัสดุซับเสียงบริวณแผงกันกระแทกด้านล่างของเครื่องยนต์) ย่อหน้านี้การันตีได้ว่าบนย่านความเร็วเดินทางไปได้ดี ดังนั้นหากขับขี่ ฮอนด้า ซิตี้คันนี้ในเมืองรับรองได้ว่าสนุกแน่
ส่วนที่ทำคะแนนได้ไม่ดีสำหรับผมของฮอนด้า ซิตี้ คันนี้ คือการทำงานสั่งการผสานกันระหว่างคันเร่งกับเครื่องยนต์และเกียร์ในช่วงที่ต้องกดคันเร่งเร็วเพื่อเรียกแรงบิดเพิ่มรอบเครื่องยนต์ (รอบเครื่องยนต์มาแต่เกียร์ไม่ยืดให้) เพื่อผ่านเนินชันแล้วยังต้องเลี้ยวโค้งปลายเนินเกียร์จะไม่ลดตำแหน่งให้ในทันที่ (CVTไม่มีตำแหน่งเกียร์) แต่จะเป็นการยืดขยายและหดทั้งนี้เพื่อความนิ่มนวลและเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชุดเกียร์
ที่อธิบายร่ายให้ฟังไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นข้อเสียหรอกครับแต่เป็นข้อจำกัดขอบระบบเกียร์ เกี่ยวกับเรื่องนี้วิศวกรของ ฮอนด้า มีข้อแนะนำและทำมาเพื่อแก้ไขจุดนี้คือ หากอยู่ในสถานการณ์และสภาพเส้นทางแบบนี้ให้ใช้โหมดสปอร์ต
วิธีใช้งานโหมดสปอร์คือ กดปุ่มแล้วดึงคันเกียร์ลงมาที่ตำแหน่ง “S” (เมื่อดึงคันเกียร์ลงมาจากเครื่องยนต์อยู่ที่ 1,800-2,000 รอบ/นาที จะดีดขึ้นไป 3,000 รอบ/นาที เลยทีเดียว) จากนั้นใช้แป้นแพดเดิ้นชิฟบนพวงมาลัย +
หรือ – สั่งเกียร์ให้สอดคล้องกับสภาพเส้นทางวิธีนี้สามารถกระตุ้นให้ชุดเกียร์ CVT กระฉับกระเฉงขึ้นแบบหนังคนละม้วน เมื่อผมลองใช้จนชินผมก็เริ่มสนุกกับมัน
สรุป
จากการที่ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันที่ 5 เปิดตัวในฐานะ อีโคคาร์ บนโครงสร้าง บีคาร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ 1.0 ลิตร 122 แรงม้า แรงบิด 173 นิวตัน-เมตร ทำให้ ฮอนด้า ซิตี้เป็นรถยนต์ อีโค คาร์ ที่แรงและแพงที่สุดในประเทศไทย (ไม่นับรวมมาสด้า2 เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 เทอร์โบ) ทำให้เมื่อเทียบกันทุกองศาของมิติตัวถัง ทั้งพลังเครื่องยนต์ อีกทั้งชื่อชั่น ฮอนด้า ซิตี้ การันตีได้ดีแล้วไม่มีเหตุผลข้อไหนที่จะไม่ให้ เครดิต ฮอนด้า ซิตี้เวอร์ชั่นนี้ ที่จะกลับมาทวงคืนตำแหน่งเจ้าตลาดจากมาสด้า2
ซึ่งเมื่อเทียบกับมาสด้า2 (รุ่นเครื่องยนต์เบนซิน1.3 ลิตร) แล้ว ฮฮนด้า ซิตี้ เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ 1.0 ลิตร 122 แรงม้า แรงบิด 173 นิวตัน-เมตร ขับสนุกกว่าในเรื่องของอัตราเร่งของเครื่องยนต์ที่ต่อเนื่อง
ส่วนเรื่องรูปร่างหน้าตาและการออกแบบภายในความสดใหม่ต้องให้ ฮอนด้า ซิตี้ ซึ่งของแบบนี้แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล และขอยกเรื่องการเซ็ตช่วงล่าง ฮอนด้า ซิตี้ มาพูดตรงนี้ว่าทีมผู้สร้างเซ็ตช่วงล่างมารองรับเครื่องยนต์ 122 แรงม้าได้ลงตัวผิดจากรุ่นก่อนมาก
รวมถึงพวงมาลัยไฟฟ้า EPS ตึงมือกำลังดีมีอารมณ์สปอร์ต วงเลี้ยวอาจไม่ถึงกับ คมกริบแต่ก็พิชิตโค้งหลอกตาได้ไม่อันตราย สุดท้ายนี้ขอตอบปัญหายอดฮิตก่อนจากากันไป ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันที่ 5 ซื้อรุ่นไหนคุ้มค่าสุด ความคุ้มค่าของแต่ละคนไปเท่ากันครับ แต่ถ้าเอาความคุ้มค่าของคนส่วนใหญ่ เขาเทใจให้ รุ่น รองท๊อป SV 45% ครับ รุ่นนี้มียอดขายมากกว่าเพื่อน รองลงมาก็เป็นตัวท๊อป RS 35% ที่เหลือ 2 รุ่น V กับ S แบ่งกันใน 20% ที่เหลือ
ส่วนที่ผมยังไม่ได้พูดถึงคือคู่แข่งพิกัดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใกล้เคียงกันอย่าง นิสสัน อัลเมร่า ก็เพราะผมยังไม่ได้ทดลองขับเอาไว้ได้ทดลองขับแล้วจะมาเหลาให้ฟังครับ
Honda City Turbo Test Drive Photo GALLERY