โตโยต้าส่งตัว3แข่งพลังงานทางเลือกลง Endurance Race 10 ชั่วโมง

โตโยต้าส่งตัว3แข่งพลังงานทางเลือกลง Endurance Race 10 ชั่วโมง

โตโยต้าจัดทัพรถที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) นำโดยพริอุส ร่วมการแข่งขัน Endurance Race 10 ชั่วโมงในประเทศไทย-สู่การขยายทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน 

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) เข้าร่วมการแข่งขันรถยนต์ในรายการ “IDEMITSU 600 SUPER ENDURANCE 2023” (การแข่งขัน Endurance Race 10 ชั่วโมงในประเทศไทย) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ สนามช้าง อินเตอร์ เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 22-23 ธันวาคม โดยนำรถแข่ง 3 คัน ภายใต้ ROOKIE Racing Team ได้แก่ GR86 “ORC ROOKIE GR86 CNF concept” ใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน, COROLLA “ORC ROOKIE GR Corolla H2 concept”  ใช้เชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจน และ PRIUS (HEV) “CP ROOKIE PRIUS CNF-HEV GR concept” ที่จะเข้านำมาเสริมทัพในรายการนี้ โดย PRIUS ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ มีแนวคิดในการพัฒนารถยนต์รุ่นที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด และนี่ยังป็นครั้งแรกของโตโยต้า ในการนำรถ HEV รุ่นที่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์มาใช้ในการแข่งขัน

นอกจากนี้รถแข่งของ TOYOTA GAZOO RACING THAILAND อย่าง COROLLA GR, GR 86 และ YARIS ก็จะเข้าร่วมการแข่งขันโดยใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยเช่นกัน โดยเราจะร่วมมือกับพันธมิตรในเอเชีย เพื่อรับมือกับความท้าทายในการขยายทางเลือกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเริ่มจากกีฬามอเตอร์สปอร์ต

โครงสร้างการแข่งขัน

นักแข่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน  

โมริโซ, ยาสึฮิโระ โอกุระ, ขจร เจียรวนนท์, มาซาฮิโระ ซาซากิ, ทัตสึยะ คาตะโอกะ, ฮิโรอากิ อิชิอุระ, คาซึยะ โอชิมะ, นาโอยะ กาโมะ, เคนตะ ยามาชิตะ, ฮิบิกิ ไทระ, เคโซ คะโต, ไดสึเกะ โตโยดะ *รายชื่ออาจมีการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง

ORC ROOKIE GR86 CNF Concept

1. การเข้าร่วมการแข่งขันด้วยรถแข่งระบบไฮบริด (HEV) เป็นครั้งแรก

โตโยต้าเร่งขยายทางเลือกอันหลากหลายเพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนให้เกิดขึ้นจริง ผ่านการเข้าร่วมซีรีส์การแข่งขัน Super Endurance Race โดยใช้รถแข่ง COROLLA ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน และรถแข่ง GR86 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยรถทั้ง 2 คันนี้ เคยเข้าร่วมการแข่งขัน Endurance Race 25 ชั่วโมง ในประเทศไทยเมื่อปี 2022 ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการนำรถมาแข่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่น โดยการแข่งขันในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดทางเลือกเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนอันหลากหลายของโตโยต้า ในการนี้ เราจึงเพิ่มรถอีกหนึ่งรุ่น คือ รถยนต์ระบบไฮบริด (HEV) เพื่อเป็นรถแข่งอีกรุ่นของโตโยต้า ซึ่งถือเป็นอีกกลยุทธ์เพื่อสร้างความเหมาะสมในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย และประเทศไทย ที่สำคัญ ยังเป็นการใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนอีกด้วย

ในปัจจุบัน TOYOTA GAZOO Racing ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีการแข่งรถ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศหลายรายการ ซึ่งรวมถึงการนำรถระบบไฮบริด (HEV) มาใช้ในการแข่งขัน หรือ Racing Hybrid โดยผ่านการเข้าร่วมในการแข่งขัน “World Endurance Championship” (WEC) และการแข่งขันในครั้งนี้ โตโยต้ามุ่งนำเสนอเทคโนโลยี ที่เหมาะสำหรับการขับขี่แบบสปอร์ต ผ่านรถรุ่น PRIUS ที่ผ่านการพัฒนาประสิทธิภาพในเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนไฮบริด HEV ที่มีการสร้างสมดุลระหว่างการใช้พลังงานและมรรถนะการขับขี่ ควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน  ยิ่งไปกว่านั้น ในการแข่งขันครั้งนี้ เรายังได้รับเกียรติจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่มีจุดยืนด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนร่วมกับโตโยต้า โดยมี คุณขจร เจียรวนนท์ ผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรูลีสซิ่ง จำกัด ซึ่งมีหน้าที่ดูแลธุรกิจบริการขนส่งของ CP ที่เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะนักแข่งของ ROOKIE Racing Team ซึ่งจะมาลงแข่งโดยการขับ CP ROOKIE PRIUS CNF-HEV GR CONCEPT ที่ใช้เชื้อเพลิงที่มีความกลางทางคาร์บอนอีกด้วย

ORC ROOKIE GR COROLLA H2 Concept

2. สร้างพันธมิตรที่จะร่วม “ผลิต” “ขนส่ง” และ “ใช้” ไฮโดรเจนในประเทศไทย    

รถแข่ง COROLLA เครื่องยนต์ไฮโดรเจน ถือเป็นการท้าทายเพื่อขยายทางเลือกในการสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากนั้นเรายังได้สร้างพันธมิตรมากมายทั้งในญี่ปุ่น และในต่างประเทศ ผ่านกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ตเพิ่มขึ้นเป็น 51 รายในการแข่งขันรายการเอนดูรานซ์ 10 ชั่วโมง ปีนี้ โตโยต้านำเสนอความท้าทายใหม่ ในการใช้พลังงานชีวภาพที่ได้มาจากมูลจากฟาร์มสัตว์ปีกของซีพี และของเสียจากเศษอาหารที่มาจาก บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อเพลิง ที่ใช้เติมในรถรุ่นโคโรลล่า ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนยิ่งไปกว่านั้น โดรนเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ในการสาธิตการทดลองร่วมกับ CP Group จะเผยโฉมเป็นครั้งแรกในกิจกรรมนี้ สะท้อนความพยายามในการสร้างพันธมิตรที่จะร่วม “ผลิต” “ขนส่ง” และ “ใช้” ไฮโดรเจนในประเทศไทย ทั้งนี้ โตโยต้ามุ่งขยายความพยายามในการสร้างสังคมไฮโดรเจนไปยังส่วนอื่นของภูมิภาคเอเชีย โดยเริ่มต้นจากประเทศไทยเป็นประเทศแรก

โดรนเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ในการสาธิตการทดลองร่วมกับ CP Group